เมนู

[314] โก. ท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์
ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย ?
สา. ท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ ก็ควรกระทำ
อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความ
คับแค้น เป็นอาพาธ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็น
อนัตตา ท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่
กระทำแล้ว ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ และแม้ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็น
พระอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ก็เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ.
จบ สีลสูตรที่ 10

อรรถกถาสีลสูตรที่ 10



พึงทราบวินิจฉัยในสีลสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า อนิจฺจโต เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
อุปาทานขันธ์ 5 ภิกษุพึงใส่ใจว่าไม่เที่ยง โดยอาการที่มีแล้ว
กลับไม่มี (เกิดแล้วดับ) พึงใส่ใจว่าเป็นทุกข์ โดยอาการที่เบียดเบียน
บีบคั้น พึงใส่ใจว่าเป็นโรค เพราะหมายความว่า เจ็บป่วย พึงใส่ใจว่า
เป็นฝีี เพราะหมายความว่า เสียอยู่ข้างใน พึงใส่ใจว่า เชือดเฉือน
เพราะเป็นปัจจัยของฝีเหล่านั้น หรือเพราะหมายความว่า ขุด พึงใส่ใจว่า
โดยยาก เพราะหมายความเป็นทุกข์ พึงใส่ใจว่า เป็นผู้เบียดเบียน
เพราะหมายความว่า เป็นปัจจัยให้เกิดอาพาธ อันมีมหาภูตรูปที่เป็น
วิสภาคกันเป็นสมุฏฐาน พึงใส่ใจว่าเป็นอื่น เพราะหมายความว่า

ไม่ใช่ของตน พึงใส่ใจว่าทรุดโทรม เพราะหมายความว่า ย่อยยับ
พึงใส่ใจว่าว่าง เพราะหมายความว่า ว่างจากสัตว์ พึงใส่ใจว่า เป็นอนัตตา
เพราะไม่มีอัตตา.
ในที่นี้พึงทราบอธิบายเพิ่มเติมอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถึงการใส่ใจว่าไม่เที่ยง ด้วยสองบทว่า อนิจฺจโต ปิโลกโต (ไม่เที่ยง
แตกสลาย) ตรัสถึงการใส่ใจว่า เป็นอนัตตา ด้วยสองบทว่า สุญฺญโต
อนตฺตโต
(ว่าง, เป็นอนัตตา) ตรัสถึงการใส่ใจว่าเป็นทุกข์ ด้วยบทที่เหลือ.
บทที่เหลือในพระสูตรนี้ มีความหมายง่ายแล.
จบ อรรถกถาสีลสูตรที่ 10

1. สุตวาสูตร



ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย



[315] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโกฏฐิตะ
อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้นแล ท่านพระมหา-
โกฏฐิตะออกจากที่พักในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ
ได้ถามว่า ท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว ควรกระทำธรรม
เหล่าไหนไว้ใจโดยแยบคาย ?
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว
ควรกระทำอุปาทานขันธ์ 5 ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โดยเป็นอนัตตา อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน ?
อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ท่านโกฏฐิตะ
ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว ควรกระทำอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ไว้ในใจ